23 ส.ค. 2554

1.การบริหารการผลิต  (ออก 5 ข้อ)
1.1 ความหมายของการบริการการผลิต คือ กลุ่มบุคคล 2 คนขึ้นไปนำมาปฎิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในองค์การเพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
1.2  หน้าที่ของการบริหารการผลิต :
1) การวางแผน , 2) การจักองค์การ , 3) การจัดบุคลากร , 4) การสั่งการ , 5) การควบคุม
1.3 ประโยชน์ที่ได้รับของการบริหารการผลิต
1) ผลประโยชน์ต่อผู้บริโภคสินค้า , 2) ผลประโยชน์ต่อคนงาน ,  3) ผลประโยชน์ต่อผู้ผลิต , 4) ผลประโยชน์ต่อผู้ลงทุน , 5) ผลประโยชน์ต่อสังคม
1.4  7 m มี อะไรบ้าง :
 1) บุคคล 2) งานหรือวัตถุ 3) การจัดการ 4) เครื่องจักร 5)แบบแผน/วิธีการ 6) การตลาด 7)แรงจูงใจ/กำลังใจ
1.5  ทักษะด้านการบริหาร แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
        1)ทักษะด้านเทคนิค , 2)ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ , 3)ทักษะด้านความนึกคิด
2.ระบบ scada   (ออก 4 ข้อ)
2.1  scada หมายถึง
- ระบบเครื่องมืออัตโนมัติสำหรับตรวจสอบเก็บรวบรวมข้อมูลและบริหารระบบควบคุมของกระบวนการผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรม
2.2  องค์ประกอบของ scada  
- กระบวนการผลิตเชื่อมต่อกับหน่วยควบคุมระยะไกล หน่วยควบคุมระยะไกลติดต่อกับหน่วยติดต่อระยะไกล โดยการสื่อสารข้อมูลแบบดิจิตอลทางระบบเครือข่ายคมนาคม และหน่วยติดต่อระยะไกลเป็นเครื่องเชื่อมต่อกับกระบวนการผลิต ประกอบด้วย หน่วยรับสัญญาณ และส่งสัญญาณ  ของสัญญาณชนิดแอนะล็อก และ สัญญาณชนิดดิจิตอล
2.3    scada เหมาะสมกับงานประเภทใด
1)การตรวจสอบ , 2)การเก็บรวบรวมข้อมูลของกระบวนการผลิต , 3)การบริหารระบบควบคุม
2.4 ยกตัวอย่างระบบ scada
1) ระบบจ่ายไฟฟ้าและน้ำประปา  ,  2) ระบบท่อส่งก๊าซและน้ำมัน
3.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมคุณภาพ      (ออก 4 ข้อ)
3.1 วัตถุประสงค์การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมคุณภาพ
1) ให้คุณภาพของสินค้าที่ผลิตดีขึ้น , 2) เพื่อเพิ่มผลผลิต , 3) เพื่อลดเวลาที่ใช้ในการผลิต
3.2 จุดเด่นของการใช้คอม ฯช่วยในการควบคุม
1) จะทำให้สามารถตรวจเช็คชิ้นงานได้ทั้ง 100 % แทนที่จะทำแบบสุ่มเช็ค
2)การตรวจเช็คขณะผลิตสามารถทำได้โดยเชื่อมโยงกับกระบวนการผลิต ทำให้ไม่ต้องมีการดึงชิ้นงานออกไปจากระบบเพื่อตรวจเช็คจึงไม่เสียเวลา
3.3  การตรวจสอบด้วยอุปกรณ์หัววัด (sensor) แบบสัมผัส (contact  inspection  method) 
       - การตรวจสอบชิ้นงานด้วยวิธีนี้ทั่วไปใช้เมื่อเราต้องการทราบขนาดของชิ้นงานอย่างละเอียดโดยอุปกรณ์ที่ใช้เช่นเครื่องวัดจุดโคออร์ดิเนต (coordinate measuring  machines ย่อว่าCMM )  ลักษณะการทำงานของเครื่อง CMM ตัวหัววัดสัมผัส (probes) จะเคลื่อนที่ตามทิศทางแกน x, y, z ขณะทำการวัดขนาดชิ้นงานหัววัดจะต้องสัมผัสกับผิวของชิ้นงานซึ่งจะทำให้ทราบขนาดชิ้นงานจากจอภาพเครื่องคอมพิวเตอร์หรือที่ตัวควบคุมของเครื่อง (controller)
3.4. การตรวจสอบด้วยอุปกรณ์แบบไม่สัมผัส (non-contact inspection method)
- การตรวจเช็คแบบไม่สัมผัสในลักษณะนี้ใช้อุปกรณ์หัววัดชนิดที่ไม่ต้องสัมผัสชิ้นงานโดยข้อดีแบบนี้เทียบกับแบบสัมผัสมีมากมาย เช่นไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตำแหน่งชิ้นงานขณะตรวจเช็ค,การตรวจเช็คทำได้เร็วกว่าแบบสัมผัส,ลดอันตรายในกรณีที่ต้องตรวจเช็ควัสดุที่มีอันตราย,ผิวชิ้นงานไม่เกิดความเสียหายเนื่องจากโดนสัมผัส 

4.ระบบควบคุมทางอุตสาหกรรม (ออก 3 ข้อ)
4.1 สาเหตุของระบบการควบคุมกระบวนการทางอุตสาหกรรม
-จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับขั้นตอนที่แยกแยะลำดับขั้นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีความสลับซับซ้อนแตกต่างกันออกไป  ดังนั้นการนำลำดับขั้นตอนต่าง ๆ มารวมกันจึงเป็นงานของ นักวิศวกรอุตสาหกรรม (Manufacturing Engineer)  และช่างเทคนิคอุตสาหกรรม (Industrial Technician) เป็นผู้ทำให้การทำเป็นของเครื่องจักรเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
4.2 ความหมายระบบควบคุมในอุตสาหกรรมการ
- หมายถึง การที่โรงงาน เครื่องจักรกระบวนการผลิต อุปกรณ์วัด และอุปกรณ์ควบคุการผลิตสามารถปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การผลิตในงานอุตสาหกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
4.3 ระบบบัส
- คือ เส้นทางที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นระบบเดียวกัน ทั้งภายในแผงวงจรหลัก และอุปกรณ์ที่อยู่บน Slot ของระบบบัสส่วนเชื่อมโยงต่างๆ ส่วนประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ จะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยวงจรทางไฟฟ้า ที่เรียกว่าระบบบัส

**********************************************